วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

                                                                            วันที่ 8 มีนาคม 2562

ความรู้ที่ได้รับ



☆ เริ่มการเรียนครั้งนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อคณิตศาสตร์แล้วให้เลือกว่าอยากทำชิ้นใด
กลุ่มของฉันเลือกที่จะทำ “ตาชั่งสองแขน
หลังจากนั้นอาจารย์พดอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสมองและการเล่นที่เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

 การทำงานของสมอง มีกระบวนการดังนี้ 


☆ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจย์ว่าดังนี้


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลมีดังนี้
     1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
       ✱ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) อายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น
       ✱ ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)  อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่ชัดนัก
     3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

     4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
ประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น
ได้แก่
     1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
     2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
     3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
     4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
     5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
     6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญา

มีลักษณะดังนี้
     1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
     2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
     3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

   ☟ คำศัพท์ ☟
1.Balance              ความสมดุล
2.Conflict              ความขัดแย้ง
3.Abstract             นามธรรม
4.Absorbing           การซึมซับ
5.Process              กระบวนการ
6.Review              ทบทวน
7.Absorption         การดูดซับ
8.Acknowledge     รับรู้
9.Concrete            รูปธรรม
10.Learning            เรียนรู้
แบบประเมิน
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจฟังและคอยสนทนากับอาจารย์เมื่ออาจารย์อธิบาย
ประเมินอาจารย์  อาจารย์พูดถึงเนื้อหาและให้คำอธิบายได้อย่างเข้าใจ
ประเมินตนเอง  ฟังอย่างตั้งใจอาจจะมีคุยบ้างแต่ก็ยังให้ความสำคัญกับเนื้อหาอยู่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น