วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

                                                                       วันที่ 3 พฤษภาคม 2562



ความรู้ที่ได้รับ




คาบนี้อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผัง  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  แล้วหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดให้ความรู้และแจกกระดาษคนละ 1 แผ่นต่อด้วยทำ แผนผัง ไก่



หลังจากที่ทำแผนผังเสร็จอาจารย์ก็ให้เก็บรวบรวมแผนผังมาส่งเพื่อนำมาฉายในจอแล้วบอกว่าแผนผังของใครต้องแก้ไขตรงไหนอย่างไร


      ❁ต่อมาอาจารย์ให้ทำแผ่นพับรายงานผู้ปกครอง โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อไว้ดังนี้
1.หน้าปก
2.หน่วยที่จะจัดการสอน
3.ข้อมูลของหน่วยที่เราจะทำ
4.ข้อเสนอแนะให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการสอนเด็ก
5.แบบฝึกหัดหรือเกมให้เด็กได้ลองทำ

แผ่นพับรายงานผู้ปกครอง





การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งได้อย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมได้เป็นอย่างดี



ปิดคอร์สแล้วนะคะสำหรับเทอมนี้






บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

                                                                     วันที่ 19 พฤษภาคม 2562


ความรู้ที่ได้รับ


คาบนี้อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ  1 แผ่น เพื่อศึกษาข้อมูลใน กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย จากนั้นอาจารย์ให้สรุปเนื้อหาภายในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยลงในกระดาษที่แจกให้ 

รูปภาพงาน





กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


รูปภาพขณะทำงาน







  คำศัพท์
1. Standard                   มาตรฐาน
2. Geometry                  เรขาคณิต
3. Importance                ความสำคัญ
4. Volume                     ปริมาตร
5. Subject                      สาระ
6. Length                       ความยาว
7. Algebra                      พีชคณิต
8. Mathematical Thinking   ความคิดเชิงคณิตศาสตร์
9. Mathematics               คณิตศาสตร์
10.Weight                       น้ำหนัก



แบบประเมิน

ประเมินเพื่อน        มีความตั้งใจศึกษาและตั้งใจทำสรุปงานที่อาจารย์มอบหมาย
ประเมินอาจารย์     อธิบายเกี่ยวกับเรื่องสาระทางคณิตศาสตร์และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยว                            กับการทำแผนผังได้อย่างเข้าใจ
ประเมินตนเอง      ตั้งใจทำและอ่านเกี่ยวกับสาระคณิศาสตร์เพื่อนำมาสรุปลงแผนผังและ                            เขียนสรุปอย่างเข้าใจง่าย




วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

                                                                          วันที่ 22 มีนาคม 2562


ความรู้ที่ได้รับ

คาบนี้อาจารย์ให้นัดส่งชิ้นงาน “สื่อตาชั่งสองแขน” พร้อมนำเสนอ



อุปกรณ์

1.กระดาษลัง
2.กระดาษสี
3. กาว
4.กรรไกร
5.คัตเตอร์
6.ก้านลูกโป่ง
7.หมุดยึดก้านลูกโป่ง
8.สติ๊กเกอร์ใส

วิธีทำ

1.ตัดกระดาษลังให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 3 แผ่นแล้วนำมาทากาวประกบกัน
2.ตัดกระดาษลังให้เป็นสามเหลี่ยมจำนวน 2 แผ่นนำมาทากาวประกบเหมือนอันแรกเพื่อนำมาทำเป็นแกนยึด
3.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้เป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อนำมาทำเป็นตัวโยกของตาชั่ง
4.ห่อกระดาษสีและติดสติ๊กเกอร์ใสกระดาษลังที่ตัดไว้ทั้งหมด
5.เจาะรูฟิวเจอร์บอร์ด
6.นำก้านลูกโป่งมาใส่เพื่อทำเป็นเฟืองของตาชั่งแล้วนำหมุดมายึดก้านลูกโป่งไว้

รูปภาพขณะนำเสนอ


                        

                        



คำศัพท์

1.Creativity         ความคิดสร้างสรรค์
2.Comment         แสดงความคิดเห็น
3.Observance      การสังเกต
4.Listening          รับฟัง
5.Train                กำหนด
6.Objective          วัตถุประสงค์
7.Reason              เหตุผล
8.Relationship     ความสัมพันธ์
9.Scales two Sleeves   ตาชั่งสองแขน
10.Presentation     การนำเสนอ
 แบบประเมิน
ประเมินเพื่อน       มีความพร้อมในการนำเสนอนำเสนอได้อย่างเข้าใจ
ประเมินอาจารย์    ให้คำแนะนำและคอยเสริมความรู้ให้ได้อย่างเข้าใจ
ประเมินตนเอง      ยังมีความตื่นเต้นในการนำเสนอในครั้งนี้แต่ก็สามารถนำเสนอผ่านไปได้                          ด้วยดี

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

                                                                          วันที่ 15 มีนาคม 2562



ความรู้ที่ได้รับ

คาบนี้อาจารย์ให้ทำสื่อที่กลุ่มของตนได้รับมอบหมายตามอัธยาศัย
กลุ่มของฉันได้ผลิตสื่อ ตาชั่งสองแขน

รูปภาพบรรยากาศขณะทำสื่อ


                      







คำศัพท์
1.Scissors                    กรรไกร
2.glue                          กาว
3.Cut                           ตัด
4.stick                         ติด
5.packing paper          กระดาษลัง
6.pencil                       ดินสอ
7.pen                           ปากกา
8.ruler                         ไม้บรรทัด
9.color                         สี
10.pink                        สีชมพู


แบบประเมิน
ประเมินเพื่อน  มีการช่วยแสดงความคิดและออกแบบสื่อได้พอสมควร
ประเมินอาจารย์  อาจารย์เข้าใจนักศึกษาและคอยให้คำปรึกษาขณะทำ

ประเมินตนเอง  พยายามคิดและออกแบบสื่อและแก้ไขได้อย่างเต็มความสามารถ











บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

                                                                         วันที่ 13 มีนาคม 2562 


ความรู้ที่ได้รับ


เนื่องจากคาบที่แล้วอาจารย์ได้ให้เลือกทำสื่อคณิตศาสตร์ขึ้นมากลุ่มละ1ชิ้น
คาบนี้อาจารย์จึงนัดแจกอุปกรณ์ในการทำสื่อโดยให้นักศึกษาทำรายการขอเบิกอุปกรณ์โดยแจกรวมกันทั้ง 2 เซค แล้วให้นำลับไปทำสื่อมาส่ง

รูปภาพในขณะแจกอุปกรณ์







  คำศัพท์
1. Cutting pad         แผ่นรองตัด2. Step                      ขั้นตอน3. Glue                     กาว 4. Ruler                  ไม้บรรทัด
5. Chemical pen     ปากกาเคมี
6. Cutter                 คัตเตอร์7. Equipment         อุปกรณ์8. Paper                 กระดาษ
9. Scissors              กรรไกร10. Plan                 การวางแผน


แบบประเมิน
ประเมินเพื่อน  ร่วมด้วยช่วยกันขนของยกของช่วยอาจารย์เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์  แจกของตามลำดับได้เป็นระเบียบและครบถ้วน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังและคอยรับของที่กลุ่มของตนต้องใช้


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

                                                                            วันที่ 8 มีนาคม 2562

ความรู้ที่ได้รับ



☆ เริ่มการเรียนครั้งนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อคณิตศาสตร์แล้วให้เลือกว่าอยากทำชิ้นใด
กลุ่มของฉันเลือกที่จะทำ “ตาชั่งสองแขน
หลังจากนั้นอาจารย์พดอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสมองและการเล่นที่เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

 การทำงานของสมอง มีกระบวนการดังนี้ 


☆ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจย์ว่าดังนี้


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลมีดังนี้
     1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
       ✱ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) อายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น
       ✱ ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)  อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่ชัดนัก
     3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

     4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
ประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น
ได้แก่
     1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
     2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
     3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
     4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
     5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
     6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญา

มีลักษณะดังนี้
     1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
     2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
     3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

   ☟ คำศัพท์ ☟
1.Balance              ความสมดุล
2.Conflict              ความขัดแย้ง
3.Abstract             นามธรรม
4.Absorbing           การซึมซับ
5.Process              กระบวนการ
6.Review              ทบทวน
7.Absorption         การดูดซับ
8.Acknowledge     รับรู้
9.Concrete            รูปธรรม
10.Learning            เรียนรู้
แบบประเมิน
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจฟังและคอยสนทนากับอาจารย์เมื่ออาจารย์อธิบาย
ประเมินอาจารย์  อาจารย์พูดถึงเนื้อหาและให้คำอธิบายได้อย่างเข้าใจ
ประเมินตนเอง  ฟังอย่างตั้งใจอาจจะมีคุยบ้างแต่ก็ยังให้ความสำคัญกับเนื้อหาอยู่